3สมุนไพรพื้นบ้านที่รักษาโรคได้ ไม่อยากป่วยไปหามากินซะ

3สมุนไพรพื้นบ้านที่รักษาโรคได้ ไม่อยากป่วยไปหามากินซะ

ผัก ผลไม้ หรือ สมุนไพรต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่ได้จากธรรมชาติที่มากด้วยคุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยา สมุนไพรหลายชนิดยังรักษาโรคได้อย่างน่าทึ่งมาก นอกจากคุณสมบัติเด่นด้านการรักษาแล้วยังไม่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างที่อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ ซึ่งสมุนไพรรักษาโรคเด่น ๆ เหล่านั้น ได้แก่

1.ขี้เหล็ก

ขี้เหล็กมีรสขมถึงขมมากทำให้คนยุคใหม่ไม่ชื่นชอบในรสชาติของมันเท่าไร แต่ถ้าเป็นคนสมัยก่อนแล้ว ขี้เหล็กถือเป็นยาจากธรรมชาติชั้นดีและเป็นอาหารที่ถูกปากคนสมัยก่อนมาก เนื่องจากสมัยก่อนสารปรุงแต่งอาหารนั้นไม่ได้ถูกผลิตอย่างแพร่หลาย การปรุงอาหารโดยใช้รสชาติโดยตรงของพืชผักและสมุนไพรจึงเด่นชัด เห็นได้จาก ขี้เหล็กถูกนำมาทำเป็นส่วนประกอบในอาหาร หลายอย่าง ทำให้ขี้เหล็กกลายเป็นสมุนไพรรักษาโรคอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งสรรพคุณทางยาของขี้เหล็กคือ ช่วยแก้อาการท้องผูก บำรุงร่างกาย และมักถูกใช้เป็นยานอนหลับตามธรรมชาติที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและนอนหลับได้ดี

2.ตำลึง

ผักริมรั้วที่ปลูกง่ายเนื่องจากมักจะขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำให้ไม่มีสารเคมี แถมยังอร่อยและมีสรรพคุณทางยามากมาย ซึ่งสรรพคุณทางยาของตำลึงนั้นสามารถใช้ได้ทั้งต้น ไม่ว่าจะเป็น ราก ลำต้น ใบ หรือผล สามารถรักษาแผลในปาก ลดผื่นคันหรืออาการอักเสบจากการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย  บำรุงสายตา แก้ร้อนใน เสริมภูมิต้านทาน บำรุงกระดูก อีกทั้งยังช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ที่สำคัญตำลึงทั้งต้นยังนำมาใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวานได้อีกด้วย ผักเลื้อยที่ชื่อ ตำลึงนั้นนอกจากจะถูกนำมารับประทานเพื่อรักษาโรคแล้วการบดใบตำลึงสดๆแล้วพอกหน้ายังจะช่วยบำรุงผิวหน้าทำให้ใบหน้าสดใสและผิวขาวขึ้นได้อีกด้วย  ที่สำคัญผักตำลึงสามารถนำมาประกอบอาหารอร่อยๆได้อย่างมากมาย เช่น แกงจืด แกงแค หรือต้มจิ้มกับน้ำพริกก็อร่อยไปอีกแบบ

3.ผักเชียงดา

ผักเชียงดาเป็นสมุนไพรรักษาโรคที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผัก ฆ่าน้ำตาล เนื่องจากผักเชียงดามีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และเร่งให้ระบบเผาผลาญไขมันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ช่วยลดไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ อีกทั้งยังช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลช่วยสร้างเนื้อเยื่อให้ตับอ่อน และล้างสารพิษในร่างกาย  ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคอ้วน และโรคเบาหวาน การใช้ผักเชียงดาเพื่อรักษาผู้ป่วยเบาหวานนั้น หากรับประทานผักเชียงดาเป็นผง ควรทานก่อนอาหารวันละ 8-12 กรัมเป็นประจำจะช่วยควบคุมและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ แต่สำหรับการทานผักเชียงดาสดต้องทานอย่างน้อยวันละ 50-100 กรัม โดยจะเลือก ต้ม แกงหรือจิ้มกับน้ำพริกก็ได้

จะเห็นได้ว่าผักสมุนไพรรักษาโรคพื้นบ้านเหล่านี้นอกจากจะราคาถูกและหาง่ายแล้ว สรรพคุณทางยาก็ยังเด่นมากทั้งช่วยบำรุงและรักษา หากอยากสุขภาพแข็งแรงและไม่เจ็บป่วยง่าย ลองพิจารณาสมุนไพรเหล่านี้มาประกอบอาหารในแต่ละวัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *